ตัวอย่างของการปฏิวัติทางการเมืองในประวัติศาสตร์ทางการเมืองโลก[6] ของ ปฏิวัติ

  • คำว่าปฏิวัติถูกใช้ครั้งแรกในอังกฤษ ค.ศ. 1688 - 89 เพื่ออธิบายการที่กษัตริย์เจมส์ที่ 2 ถูกยึดอำนาจ ศัพท์ในทางสังคมศาสตร์เรียกเหตุการณ์นี้ว่า การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (The Glorious Revolution) การปฏิวัติครั้งนี้ทำให้อำนาจสมบูรณ์ของกษตริย์อังกฤษถูกถ่ายโอนมาสู่สภา
  • ในศตวรรที่ 18 ในประเทศอเมริกาเกิดการปฏิวัติอเมริกา (The American Revolution) ซึ่งเป็นการปฏิวัติประเทศอเมริกาให้ปกครองตนเองแและแยกออกจากการปกครองของอังกฤษ
  • ใน ค.ศ. 1789 เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส (The French Revolution) เมื่อปัญญาชน และประชาชนนำโดยโรแบร์สปิแอร์ (Maximilien de Robespierre) ปฏิวัติการปกครองของกษัตริย์หลุยส์ที่ 16 (Louise XVI) การปฏิวัติครั้งนี้มักถูกยกย่องว่าเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งแรก รวมถึงเป็นการปฏิวัติครั้งแรกของโลกสมัยใหม่ด้วย
  • ในศตวรรษที่ 20 การแพร่กระจายของลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) ทำให้ประเทศจำนวนมากเกิดการปฏิวัติการปกครองโดยประชาชน (People Revolution) ขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเทศที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์

สำหรับในสังคมการเมืองไทยเกิดการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นเพียงครั้งเดียวคือ การปฏิวัติสยาม ในวันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติการปกครองโดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) ส่วนการล้มล้างรัฐบาลในครั้งต่อมานั้นเป็นเพียงการรัฐประหาร เพราะไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ทว่าเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ผู้นำของรัฐบาล หรือเป็นการยืดอายุของรัฐบาลอุปถัมป์อำนาจนิยม (Suzerain-Authoritarianism) ของสังคมไทยเพียงเท่านั้น[7]

แต่ในความเห็นอีกด้านหนึ่ง กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) อันเป็นการปฏิวัติ แต่ก็เป็นการรัฐประหาร (coup d'état) ด้วย เพราะใช้กำลังทหาร ควบคุม บังคับ ทำให้อำนาจรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสิ้นสุดลง(สำหรับฝ่ายที่ต่อต้านการปฏิวัติ) แต่กลุ่มการเมืองฝ่ายต่อต้านระบอบกษัตริย์ พยายามสร้างภาพให้เป็นเชิงบวก ว่าเป็นการปฏิวัติ หรืออภิวัฒน์ จนเรียกว่า สยามภิวัฒน์